นอนน้อยกว่า6ชั่วโมงเสี่ยงหลอดเลือดตีบแตก
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
How Less Than 6 Hours Of Sleep May Hurt Your Blood Vessels?
นักวิจัยพบ ผู้ที่นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมง มีแนวโน้มที่จะเป็น “โรคหลอดเลือดแดงแข็ง” ทั่วร่างกายมากกว่าผู้ที่นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงถึง 27%
เวลานอนอันน้อยนิด ส่งผลต่อชีวิตมหาศาล ในยุคที่ผู้คนใช้ชีวิตอย่างสมบุกสมบัน และยาวนานเสียจนเลยเวลาพักผ่อนออกไปเรื่อยๆ อย่างลืมตัว โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือ การทำร้ายร่างกายตัวเองอย่างร้ายแรง! หากกำลังคิดว่า “ไม่ขนาดนั้นหรอกหน่า แค่พักผ่อนน้อยเองในบางช่วงเวลา ไม่น่าจะเป็นไรหรอก” เราขอให้คุณหยุดอ่านบทความนี้ก่อน
วิจัยชี้ เสี่ยงหลอดเลือดแดงแข็งทั้งร่างกาย!
เวลาเพียง 7 วัน ที่ได้ทำการทดลอง สามารถตอบคุณได้มากกว่าที่คิด โดยนักวิจัยได้ศึกษาผ่านกลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 46 ปี จำนวนทั้งหมด 4,000 คน* ซึ่งไม่ได้มีประวัติว่าเคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยผู้ทดลองแต่ละคนจะสวมชุด Actigraph ซึ่งเป็นอุปกรณ์วัดคุภาพการนอนหลับ(รูปทรงคล้ายนาฬิกา) กำหนดโดยความถี่ในการตื่น และความถี่ในการเคลื่อนไหวระหว่างช่วงการนอนหลับ
ผลการสำรวจที่ได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มบุคคลที่นอนน้อยมากๆ น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
- กลุ่มบุคคลที่นอนน้อย ประมาณ 6-7 ชั่วโมง
- กลุ่มบุคคลที่นอนปกติ ประมาณ 7-8 ชั่วโมง
- กลุ่มบุคคลที่นอนเยอะ ประมาณ 8 ชั่วโมง
27% ของผู้ที่นอนน้อย มีโอกาสเป็น “โรคหลอดเลือดแดงแข็ง”
เมื่อนำกลุ่มตัวอย่างเข้าตรวจผ่านเครื่อง 3D ultrasounds และ CTs รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทั่วร่างกายแล้ว ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า กลุ่มผู้นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/คืน มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ในหลอดเลือดแดงต่างๆ ทั้งร่างกาย ได้มากกว่าผู้ที่นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน ถึง 27% เลยทีเดียว
*ทีมวิจัยจาก Centro Nacional de Investigaciones Cardiovasculares Carlos III (CNIC), Hospital Universitario Puerta de Hierro และ IMDEA Food Institute, CEI UAM þ CSIC ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง จุดเริ่มต้นของ โรคร้าย
จากงานวิจัยข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ทั่วร่างกาย
เมื่อมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ร่างกายภายในของคุณจะสูญเสียความยืดหยุ่น ความดันโลหิตจะยิ่งสูงขึ้นๆ หลอดเลือดเสื่อมมากขึ้นเรื่อยๆ มีไขมันไปสะสมในผนังหลอดเลือด เกิดการตีบ หรือแตก และร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคร้ายที่มาจากหลอดเลือดแดงแข็ง
- หลอดเลือดแดงแข็งที่แขนและขา เลือดไปเลี้ยงแขน ขา และกระดูกเชิงกรานไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการปวดและชาบริเวณแขนและขา ทำให้เป็นตะคริวบ่อยครั้ง มือและเท้าเย็น หากหลอดเลือดตีบมากอาจทำให้มือและเท้ามีสีเขียวคล้ำและอาจเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงได้
- หลอดเลือดแดงแข็งที่ไต อาจทำให้เนื้อเยื่อไตขาดเลือดและส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เท้าบวม ปัสสาวะผิดปกติ ซึ่งน้ำปัสสาวะอาจมากหรือน้อยผิดปกติร่วมกับมีความดันโลหิตสูง
- หลอดเลือดแดงแข็งที่หัวใจ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ โดยอาการเจ็บหน้าอกจะรุนแรงขึ้นเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ และจะทุเลาลงเมื่อหยุดพัก นอกจากนี้ มีอาการเจ็บร้าวมาที่คอ กระดูกกราม ไหล่ และแขน โดยเฉพาะฝั่งซ้ายของร่างกาย มีเหงื่อออกมาก หายใจหอบเหนื่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ คล้ายจะเป็นลม หรือหมดสติได้
- หลอดเลือดแดงแข็งที่คอและสมอง หลอดเลือดแดงบริเวณลำคอมีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง หากเกิดหลอดเลือดแดงแข็งที่คอจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอด้วยเช่นกัน ส่งผลให้มีอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน ปวดศีรษะอย่างมากในทันที วิงเวียน สับสน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ตามองไม่เห็นชั่วคราว 1 ข้าง ซึ่งเป็นอาการของโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกชาบริเวณใบหน้า แขน และขา สูญเสียการทรงตัว เป็นอัมพาต และหายใจไม่ได้
แพทย์เตือน วิจัยชี้ ผลกระทบการนอนหลับไม่ดี
นอกจากเสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดแข็งแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายและอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง การนอนหลับช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ เมื่อนอนน้อย ร่างกายจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยลง ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยง่ายขึ้น
- ความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง
- อ่อนเพลียและไม่มีเรี่ยวแรง ทำให้ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก
- ส่งผลต่อฮอร์โมนความเครียด ทำให้รู้สึกเครียด กังวล และวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
- ความจำเสื่อม ความสามารถในการเรียนรู้ และการคิด
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลต่อสมาธิและการตัดสินใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ การนอนน้อยส่งผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม ทำให้รู้สึกหิวบ่อยขึ้น ทานอาหารมากขึ้น และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ผลลัพธ์เหล่านี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของนิสัยการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด คือสะพานสู่การเกิดโรคต่างๆ มากมาย หากคุณคือคนที่กำลังอ่านบทความนี้ตอนเวลา 03.00 น. อยู่ตอนนี้ เราขอแนะนำ อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณมีการนอนหลับ
ที่มีคุณภาพด้วย Better Sleep Formula ที่ The Touch Wellness And Beauty Center ศูนย์สุขภาพและความงาม ครบวงจร เป็นการเติมสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่ช่วยกระตุ้นสารเคมี และสารสื่อประสาทให้กลับมาทำงานอย่างสมดุล รวมถึงปรับการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และทำให้ไม่รู้สึกเพลียหลังตื่น
Source :
http://www.onlinejacc.org/content/73/2/134
https://www.forbes.com/sites/brucelee/2019/01/16/study-how-less-than-6-hours-of-sleep-may-hurt-your-blood-vessels/?sh=576131da2189
https://www.pobpad.com