ไม่สุข ไม่เศร้า เฉยชากับทุกสิ่ง คุณกำลังอยู่ใน “ภาวะสิ้นยินดี” หรือไม่?

สมาคมจิตเวชของอเมริการะบุ ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ สัญญาณเตือนโดปามีน (Dopamine) ในสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความพอใจขาดสมดุล จิตแพทย์ยืนยันอันตรายกว่า “โรคซึมเศร้า*”

จะเป็นอย่างไร ถ้าจำไม่ได้แล้วว่ามีความสุขครั้งสุดท้ายตอนไหน? เมื่อความเฉยชาครอบงำกลืนกินจิตใจอย่างไม่รู้ตัว จนวันหนึ่งเริ่มสังเกตเห็นว่า กิจกรรมที่เคยทำ งานอดิเรกที่เคยชอบ กลับกลายเป็นเฉยชา ไม่มีความรู้สึกร่วม มีแต่ความเฉยชา เรามาทำความรู้จักกับภาวะสิ้นยินดีกัน พร้อมเช็กกันว่าคุณกำลังเข้าข่ายมากน้อยแค่ไหน

*ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีภาวะสิ้นยินดีอยู่ในระดับรุนแรงอยู่ที่ร้อยละ 86.29 เลยทีเดียว

ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

ความรู้สึกยินดี เสียใจ ผิดหวัง ภาคภูมิใจ ได้หล่นหายไปจากตัวเรา แล้วตั้งแต่เมื่อไหร่กัน? หรืออันที่จริงแล้ว เราไม่ได้ไม่ชอบสังคม แค่รู้สึกเฉยเมยกับทุกสิ่งที่เข้ามาต่างหาก แต่อันที่จริงแล้ว คุณกำลังรู้สึกสิ้นหวังทางความรู้สึกนึกคิด ต่างหาก โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักดังนี้

  • ภาวะสิ้นยินดีทางสังคม (Social Anhedonia)

คนกลุ่มนี้จะไม่รู้สึกอยากใช้เวลาร่วมกับครอบครัว คนใกล้ชิด เพื่อนฝูง คนรอบข้าง และผู้คนอื่น ๆ ในสังคม

  • ภาวะสิ้นยินดีทางกายภาพ (Physical Anhedonia)

ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีการรับรู้ความรู้สึกทางกายเปลี่ยนไป หากเป็นเรื่องเพศสัมพันธ์ ก็จะเหมือนหมดความรู้สึกจนคล้ายคนหมด สมรรถภาพทางเพศได้ นอกจากนี้ อาจจะไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยทำเหมือนก่อน อาหารที่เคยชอบก็ไม่ชื่นชอบอีกต่อไป ไม่รู้สึกสนุกสนานร่าเริงและมีแนวโน้มที่จะมีอารมณ์ทางลบมากขึ้นได้

ภาวะสิ้นยินดี

Cheklist คุณกำลังเป็นแบบนี้หรือไม่ ?

ภาวะสิ้นยินดี ถือเป็นปัญหาสุขภาวะทางจิตอย่างหนึ่ง ด้านชาทางความรู้สึก ไม่รู้สึกยินดียินร้ายกับสิ่งรอบตัว ใช้ชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ หนักไปถึงขั้นอ้างวางและโดดเดียว และเมื่อตกอยู่ในภาวะนี้นานๆ เข้า ส่วนใหญ่มักปลีกตัวออกจากสังคม อยากอยู่คนเดียว หากคุณกำลังมีสภาวะเช่นนี้ ลองมาเล็กลิสต์กันว่าเป็นตามด้านล่างนี้หรือไม่

  • รู้สึกเฉื่อย ๆ เฉยชาหรือไม่มีความรู้สึกต่อสิ่งรอบข้าง
  • เก็บตัวหรือแยกตัวออกจากสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างน้อยลง
  • มีอาการของโรคกลัวสังคม (Social Anxiety) ยากลำบากในการปรับตัวในสถานการณ์ทางสังคม คอยสังเกตผู้อื่นอย่างตั้งใจ แต่ไม่เข้าสังคม
  • เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง
  • ความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น
  • แสดงออกด้านอารมณ์ทั้งทางการกระทำและคำพูดน้อยลง
  • ความสามารถทางอารมณ์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงความยากลำบากในการถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกออกมา
  • ไม่ยิ้มหรือมีความสุขกับสิ่งที่เคยชื่นชอบ
  • ฝืนที่จะต้องแสดงอารมณ์ต่าง ๆ 
  • ความต้องการทางเพศลดลง และขาดความสนใจในเรื่องความใกล้ชิดทางกาย
  • เกิดความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายอยู่บ่อยครั้ง
ภาวะสิ้นยินดี

สาเหตุของ “ภาวะสิ้นยินดี”

เกิดขึ้นได้จากการที่สารเคมีในสมองเสียสมดุลจากเดิม และกระทบกับการหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ที่มีความสำคัญต่อสมอง ทำหน้าที่ควบคุมหลายอย่าง กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกดีหรือพึงพอใจ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้หรือมีความสุข พบได้มากในผู้ที่มีผิดปกติทางจิต เช่น

  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Depression)
  • โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • ผู้ที่ใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressant)
  • ผู้ที่ใช้ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics)
  • อาจพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ที่ใช้สารเสพติด
ภาวะสิ้นยินดี

จัดการกับ ภาวะสิ้นยินดี อย่างไร

สภาวะปัญหาด้านสุขภาพจิต ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาได้โดยตรง และภาวะสิ้นยินดี นับเป็นสัญญาณเตือนภัย ของการเกิดโรคซึมเศร้าที่หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลเสีย ดังนั้นลองสำรวจดูตามคำแนะนำแล้วพบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเปลี่ยนไปจากที่เคยเป็น ไม่สดใส ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึกใด ๆ ทั้งยังปลีกตัวจากสังคมล่ะก็ งานนี้ต้องรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้หาแนวทางในการรักษาเยียวยาได้เร็วขึ้น และป้องกันการทำร้ายตัวเองอนาคตได้อีกด้วย

แล้วคุณล่ะ รู้ตัวว่าตัวเองมีความสุขครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง