รักษาด้วยคลื่นกระแทก เคยไหม? รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกายที่เกิดจากการทำงาน จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เบื่อหน่ายกับการทานยาแก้ปวดที่อาจส่งผลข้างเคียง การนวดที่บางครั้งทำให้กล้ามเนื้อเกิดการระบมหลังนวด ปวดกว่าเดิม
หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ ขอแนะนำให้ลองทำความรู้จักกับวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การลดปวดด้วยเครื่องกายภาพ หรือ Physical กายภาพบำบัด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยปลดปล่อยคุณจากพันธนาการของอาการปวดเรื้อรัง พาคุณกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง
การรักษากายภาพบำบัดด้วยคลื่นกระแทก หรือ Shockwave Therapy เป็นอีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยมที่ใช้สำหรับอาการปวดเรื้อรังได้ทุกส่วนของร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่ทำการรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่เห็นผล ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังในโรคออฟฟิศซินโดรม ผังผืดของกล้ามเนื้อ รองช้ำ ผู้ป่วยที่มีเอ็นอักเสบแบบเรื้อรัง
รักษาด้วยคลื่นกระแทก Shockwave Therapy เป็นเทคโนโลยีการรักษาที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงส่งพลังงานไปยังบริเวณที่ต้องการรักษา คลื่นเสียงเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด และลดอาการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ที่มีปัญหาปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจากการทำงาน
คุณสมบัติพิเศษของเครื่อง Shockwave
จุดเด่นของเครื่อง Shockwave คือ ตัวเครื่องจะส่งพลังงานผ่านชั้นผิวหนังลงไปถึงบริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อได้ลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อส่งผลให้เกิดผลทางชีวภาพในเนื้อเยื่อ (Biological effects) ได้แก่
- กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่
- กระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้เนื้อเยื่อแข็ง ช่วยซ่อมแซมเซลล์เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
- กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และยับยั้งกระบวนการอักเสบ ส่งผลให้สามารถลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และจุดกดเจ็บเกิดการผ่อนคลาย
- กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
- ช่วยสลายพังผืดและหินปูน คลื่นกระแทกจะช่วยสลายพังผืดที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเรื้อรัง
- ช่วยเพิ่ม และเร่งกระบวนการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยเกิดการ กระตุ้นการอักเสบใหม่ในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเรื้อรัง
กลไกการทำงานของเครื่อง
คลื่นกระแทก หรือเครื่อง Shockwavetherapy เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงส่งพลังงานไปยังบริเวณที่ต้องการรักษา โดยคลื่นเสียงเหล่านี้จะเดินทางผ่านเนื้อเยื่อต่างๆ ไปยังบริเวณเป้าหมาย กระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บ และเกิดการอักเสบใหม่ หลังจากนั้นร่างกายจะฟื้นฟูตัวเอง และเกิดเป็นพลังงานกลไกในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
- แรงอัด (Compression) : เป็นแรงผลักดันที่รุนแรงและรวดเร็ว กระตุ้นให้เกิดการไหลเวียเลือด ลดการอักเสบ และกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
- แรงดึง (Cavitation) : เป็นการเกิดฟองอากาศเล็กๆ ในเนื้อเยื่อ เมื่อฟองอากาศเหล่านี้แตกออก จะเกิดพลังงานเสียงความถี่สูง ส่งผลให้เกิดการสลายพังผืด กระตุ้นการไหลเวียนเลือด และลดการอักเสบ
- แรงเฉือน (Shear) : เป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนเลือด ลดการอักเสบ และกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
ใครบ้างที่เหมาะกับการใช้เครื่องนี้
- ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดไหล่เรื้อรัง อาการ ปวดหลัง เรื้อรัง อาการปวดข้อเข่าเรื้อรัง อาการปวดส้นเท้าเรื้อรัง
- ผู้ที่มีโรคเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นอักเสบไหล่ เอ็นอักเสบข้อศอก เอ็นอักเสบข้อเข่า
- ผู้ที่มีโรคพังผืด เช่น พังผืดใต้ฝ่าเท้า
- ผู้ที่มีโรคกระดูก เช่น กระดูกส้นเท้าแตก กระดูกสะบ้าเคลื่อน
- ผู้ที่มีเซลลูไลท์ ต้องการสลายไขมัน
- ผู้ที่มีอาการรองช้ำ
ข้อควรระวังในการใช้เครื่อง Shockwavetherapy
- ผู้ที่ตั้งครรภ์
- ไม่ควรใช้ในเด็ก
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง
- ผู้ป่วยที่ผิวหนังมีบาดแผล
- ห้ามทำในผู้ป่วยที่ใส่ peacemaker
- ห้ามใช้ในบริเวณที่มีเส้นเลือดขอดหรือเส้นเลือดอุดตัน
- ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ภาวะเลื่อดแข็งตัวช้า
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
การดูแลตัวเองหลังทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่อง Shockwave
หลังรักษาเสร็จอาจจะรู้สึก ล้า ระบม ได้ปกติ หากระบมมากให้ประคบเย็นบริเวณนั้น 15 – 20 นาที ติดต่อกัน 1 – 2 วัน หลังจากนั้นอาการปวดจะลดลง และยังช่วยฟื้นฟูเซลล์กล้ามเนื้อให้สมบูรณ์มากขึ้น
โดยผลลัพธ์ของการรักษา อาจปรากฏทันทีหลังการรักษา หรือ อาจใช้เวลา 1 – 2 สัปดาห์หลังการรักษา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
หากใครกำลังมีอาการปวดกล้ามเนื้อ รีบรักษาก่อนเรื้อรัง รักษายาก !
รีบรักษาก่อนสาย พร้อมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัดวิชาชีพที่
The touch wellness Centers
มี 2 สาขาให้เลือกใช้บริการ
สาขา สยามสแควร์ ซอย 2
สาขา เซ็นทรัลอีสต์วิลล์ เลียบด่วน-รามอินทรา (ด้านหลังห้าง)