เมื่อ “หน้าฝน” กลายเป็น “ฤดูแห่งความกลัว”

ฤดูแห่งความกลัว ทำความเข้าใจ #โรคกลัวฝน (Ombrophobia) เมื่อเห็นฟ้าเริ่มมืดคล้ายฝนจะตก เริ่มเกิดความกังวล หรือฝนตกทีไร ทำใจไม่ได้ทุกที มีอาการแพนิค หวาดกลัวเวลามีฟ้าฝน

สิ่งเหล่านี้ อาจจะเกิดจากเหตุการณ์ฝังใจในอดีตที่ไม่ดีเกี่ยวกับฝนหรือในวันฝนตก การรับมือต้องเน้นการบำบัดทางใจ แก้ไขปมฝังใจเกี่ยวกับฝน

คนใกล้ตัว หรือตัวคุณเอง อาจกำลังประสบกับความกลัวเหล่านี้ โดยไม่รู้ตัวอยู่ก็ได้ ต้องระวังเป็นพิเศษในช่วงหน้าฝนแบบนี้

“อาการกลัวฝน”พบได้ทั่วไปแค่ไหน?

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังไม่แน่ชัดว่าโรคกลัวฝน (Ombrophobia) พบบ่อยมากน้อยแค่ไหน แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ชาวอเมริกันประมาณ 10% มีอาการกลัวสภาพอากาศเลวร้าย

อาการโรคกลัวฝน
อาการทางอารมณ์อาการทางร่างกายพฤติกรรมอาการ อื่นๆ
รู้สึกกลัว ไม่ปลอดภัย วิตกกังวล รนเหงื่อออกพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับฝนนอนไม่หลับ
รู้สึกเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้ตัวสั่นพยายามอยู่แต่ในสถานที่ปิดสูญเสียสมาธิ
รู้สึกตื่นเต้น หวิวๆ ใจสั่นใจสั่นพกยารักษาโรคกลัวความวิตกกังวลติดตัวไปด้วยเสมอเบื่ออาหาร
รู้สึกเหมือนหายใจไม่ทั่วท้องคลื่นไส้ อาเจียนมีพฤติกรรมหมกมุ่นน้ำหนักลด
รู้สึกเหมือนจะถูกทำร้ายท้องเสียมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงรู้สึกเหนื่อยล้า
รู้สึกหวาดกลัวปวดศีรษะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรู้สึกหมดไฟ
รู้สึกสิ้นหวังเวียนศีรษะรู้สึกสิ้นหวัง
รู้สึกเหมือนจะตายหายใจลำบากคิดฆ่าตัวตาย
มีอาการแพนิคชาตามปลายมือ
ปลายเท้า
รู้สึกเหมือนถูก
ไฟฟ้าช็อต

*หากคุณมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

ลักษณะและอาการของโรคกลัวฝน (Ombrophobia)

“โรคกลัวฝน” ระดับของอาการจะเป็นมาก หรือเป็นน้อย ขึ้นอยู่กับระดับความกลัว และเหตุการณ์ฝังใจของแต่ละบุคคล แต่สิ่งที่เด่นชัดก็คือระดับของความกลัวและรู้สึกไม่ชอบเมื่อมีฝนตกจะมากกว่าบุคคลทั่วไป

  • ความกลัวอย่างรุนแรง

ผู้ป่วยรู้สึกกลัวฝนอย่างไม่สมเหตุสมผล และมีความวิตกกังวลสูงเมื่อคิดถึงหรือเผชิญหน้ากับฝน

  • อาการทางกาย

เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับฝน ผู้ป่วยอาจมีอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก ตัวสั่น หายใจเร็วหรือหายใจไม่ออก คลื่นไส้ เวียนหัว หรือรู้สึกหมดแรง

  • พฤติกรรมการหลีกเลี่ยง

ผู้ป่วยอาจพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับฝน เช่น ไม่ออกจากบ้านเมื่อฝนตก หลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงหน้าฝน หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง

  • ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ความกลัวฝนอาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเรียน การเข้าสังคม และกิจกรรมประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียดและทุกข์ทรมาน

สาเหตุโรคกลัวฝน
  • เคยมีประสบการณ์เลวร้ายที่เกี่ยวข้องกับฝน
  • การเชื่อมโยงฝนกับความทรงจำเชิงลบหรือเหตุการณ์เลวร้าย
  • กลัวฟ้าร้องและฟ้าผ่า โรคกลัวฟ้า (Astraphobia)
  • กลัวการเปียกฝนหรือโดนฝน
  • ความวิตกกังวลเมื่อต้องอยู่กลางแจ้งตอนฝนฟ้าคะนอง
  • กลัวการติดอยู่หรือถูกกักขังขณะฝนตกหนัก

สาเหตุของโรคกลัวฝน (Ombrophobia)
โรคกลัวฝนอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น

  • เคยมีประสบการณ์เลวร้ายที่เกี่ยวข้องกับฝน เช่น เคยติดอยู่ในพายุรุนแรงหรือน้ำท่วม
  • การเชื่อมโยงฝนกับความทรงจำเชิงลบหรือเหตุการณ์เลวร้าย อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุการณ์รุนแรง แต่อาจเป็นประสบการณ์เชิงลบใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝน เช่น ป่วยหลังจากโดนฝนตอนเด็ก
  • กลัวฟ้าร้องและฟ้าผ่า โรคกลัวฟ้า (Astraphobia) เป็นอีกโรคที่เกี่ยวเนื่องกับโรคกลัวฝน เพราะพายุฝนมาพร้อมกับฟ้าร้องและฟ้าผ่า
  • กลัวการเปียกฝนหรือโดนฝน คือความกลัวต่อสัมผัสทางกายภาพของฝนเอง
  • ความวิตกกังวลเมื่อต้องอยู่กลางแจ้งตอนฝนฟ้าคะนอง อาจเกิดจากการเรียนรู้ เช่น เคยมีประสบการณ์เชิงลบกลางแจ้งตอนฝนตก ทำให้เกิดการเชื่อมโยงพายุฝนกับความวิตกกังวล
  • กลัวการติดอยู่หรือถูกกักขังขณะฝนตกหนัก อาจมีความกังวลแฝงเกี่ยวกับพื้นที่ปิดหรือการถูกขัง เนื่องจากกลัวการติดอยู่กลางแจ้งที่ไม่มีที่หลบภัยขณะฝนตกหนัก

หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ยังไม่แน่ใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคกลัวฝน และโรคกลัวเฉพาะอย่างอื่นๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเชื่อว่า เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ดังนี้

  • ประสบการณ์เลวร้ายที่เกี่ยวข้องกับฝนหากบุคคลมีประสบการณ์เลวร้ายกับฝน เช่น เคยเจอพายุรุนแรงหรือน้ำท่วม อาจทำให้กลัวฝนได้
  • กรรมพันธุ์ บางคนมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวลหรือโรคกลัวเฉพาะอย่าง
ฤดูแห่งความกลัว

การรักษาโรคกลัวฝน นั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นผู้ประเมินและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

ฤดูแห่งความกลัว

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลัวฝน (Ombrophobia)

โรคกลัวฝน (Ombrophobia) อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและสุขภาพจิตใจของคุณได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

  • โรคกลัวอื่นๆ (Additional Phobias) ความกลัวฝนอาจนำไปสู่การเป็นโรคกลัวชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น กลัวฟ้าร้อง กลัวพายุ กลัวน้ำ เป็นต้น
  • โรควิตกกังวล (Anxiety Disorders) ความกลัวฝนอาจรุนแรงจนกลายเป็นโรควิตกกังวล เช่น โรคตื่นตระหนก (Panic disorder) โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder) เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น

ไม่สามารถออกไปข้างนอกบ้านได้เมื่อมีฝนตก
ไม่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่มีฝนตก
มีปัญหากับการทำงาน
มีปัญหากับการเรียน
มีปัญหากับความสัมพันธ์
มีปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน

ดังนั้น  หากคุณมีอาการของโรคกลัวฝน  ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

ฤดูแห่งความกลัว

หากคุณ หรือ คนใกล้ตัว มีอาการโรคกลัวฝน ถือว่าทำให้ใช้ชีวิตได้ค่อนข้างลำบาก โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ หากอาการไม่ได้รุนแรงมาก จะต้องรับมือด้วยการพาตัวเองให้ออกห่างจากสายฝน

สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวฝนที่อาจมีอาการในระดับที่รุนแรง ควรได้รับการบำบัดที่คล้ายกับโรคแพนิคอื่น ๆ เช่น โรคกลัวน้ำ และโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยอาจเป็นการฝึกหายใจ ควบคุมบำบัดความกลัวทางจิตใจ ร่วมกับปรึกษากับแพทย์ผู้มีประสบการณ์ ซึ่งอาจต้องใช้ยาในการร่วมรักษาด้วย

ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝนที่ฝนตกหนัก หากใครมีอาการมือสั่น ใจสั่น เกิดอาการวิตกกังวล ลองเช็กตัวเองดูนะว่า กำลังเป็นโรคกลัวฝนอยู่หรือไม่ จะได้รีบหาทางรับมือ หรือปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุดนั่นเอง

Source :

https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22534-ombrophobia-fear-of-rain

  • Merck Manual [Consumer Version]. Specific Phobic Disorders (https://www.merckmanuals.com/home/mental-health-disorders/anxiety-and-stress-related-disorders/specific-phobic-disorders). Accessed 3/15/2022.
  • National Institute of Mental Health. Specific Phobia (https://www.nimh.nih.gov/health/statistics/specific-phobia). Accessed 3/15/2022.
  • Satterfield JM, Feldman MD. Anxiety. In: Behavioral Medicine: A Guide for Clinical Practice. 5th ed. New York: McGraw-Hill; 2021. Accessed 3/15/2022.
  • Substance Abuse and Mental Health Services Administration. DSM-IV to DSM-5 Specific Phobia Comparison

(https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK519704/table/ch3.t11/).
Accessed 3/15/2022

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง