โรคของคนชอบหวดแขน!

เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ใครที่ชอบออกกำลังกายด้วยการใช้แขน ไม่ว่าจะเป็นกีฬาแบดมินตัน เทนนิส เบสบอล หรือตีกอล์ฟ แล้วมีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณข้อศอก ใกล้ปุ่มกระดูกนูนๆ ด้านนอกหรือด้านในข้อศอก หรือบางครั้งขยับหรือตีผิดท่ามีอาการเจ็บเสียวบริเวณข้อศอกขึ้นมาทันที

คุณอาจมีอาการของ โรคเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ “Golfer’s Elbow” หรือ “Tennis Elbow” ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในนักกอล์ฟ นักเทนนิส โดยเฉพาะในผู้เล่นที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป อาการเหล่านี้อาจรบกวนชีวิตประจำวัน ซึ่งทั้ง 2 อาการนี้ต่างกันอย่างไร วันนี้ The touch wellness มีคำตอบ ก่อนอื่น มาทำความรู้จักโรคเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบก่อน

โรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ คืออะไร?

เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Tendinitis) คือ ภาวะการอักเสบของเอ็น เอ็นเป็นแถบเนื้อเยื่อพังผืดที่ยืดหยุ่นได้ตามแนวกระดูก เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อต่อ

สาเหตุ

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคเอ็นอักเสบ คือ การออกแรงตึงหรือสะบัดแขนแรงๆ หรือ เกิดการใช้งานซ้ำๆ มากเกินไป (Overuse Injury) ทำให้เอ็นกล้ามเนื้อที่เกาะบริเวณข้อศอกบาดเจ็บหรือเกิดการอักเสบขึ้น ถ้ารุนแรงอาจมีการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อขึ้นได้สาเหตุอื่นๆ เช่น

  • การบาดเจ็บที่เอ็น เช่น การถูกกระแทก การล้ม
  • โรคบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน

อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกที่เอ็นกล้ามเนื้อที่เกิดการอักเสบ จะมีอาการมากขึ้นโดยเฉพาะเวลาเกร็งกล้ามเนื้อ เวลากระดกแขนขึ้นหรือลง และมีจุดกดเจ็บในตำแหน่งเดียวกัน อาการอื่นๆ ได้แก่

  • ปวดบริเวณเอ็น โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหว
  • บวม
  • ตึง
  • อ่อนแรง
  • รู้สึกเสียวแปลบ
เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคข้อศอกนักกอล์ฟ (Golfer’s Elbow)

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านใน (medial epicondylitis) จะมีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ Flexor carpi radialis) เวลาบิดศอกเข้าด้านในและกระดกข้อมือลง จนทำให้เอ็น ที่เชื่อมต่อระหว่างปลายแขนกับด้านในของข้อศอกเกิดการอักเสบ

อาการเหล่านี้มักจะเกิดในนักกีฬาตีกอล์ฟ ที่ต้องใช้แขนสวิงตีกอล์ฟแรงๆ หรือเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินหรือบ่อยเกิน พบบ่อยบริเวณข้อศอกขวาด้านใน (ในนักกอล์ฟที่ถนัดมือขวา)

ถึงแม้จะชื่อว่า Golfer’s elbow แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับนักกอล์ฟเท่านั้น ผู้ที่เล่นกีฬาประเภทอื่นๆ หรือคนที่ทำงานที่ต้องใช้แรงบิด หรือ ใช้งานข้อมือบ่อยๆ ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน

เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ

โรคข้อศอกเทนนิส (Tennis Elbow)

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอก (lateral epicondylitis) จะมีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ Extensor carpiradialis brevis เวลาขยับหมุนข้อศอกหรือเวลากำสิ่งของในมือ

อาการเหล่านี้มักจะเกิดในนักกีฬาเทนนิส นักกีฬาแบดมินตัน หรือนักกีฬาเบสบอล ซึ่งเกิดจากการเหยียดข้อศอก (extending) และสะบัดข้อมือขึ้นแรงๆ (backhanding) หรือเกิดจากการบาดเจ็บที่เอ็น เช่น การถูกกระแทก การล้ม

และถึงแม้จะชื่อว่า Tennis Elbow แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับนักกีฬาเทนนิส นักกีฬาแบดมินตัน หรือนักกีฬาเบสบอลเท่านั้น ผู้ที่เล่นกีฬาประเภทอื่นๆ หรือคนที่ทำงานที่ต้องใช้แรงบิด หรือ ใช้งานข้อมือบ่อยๆ ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน

ตารางเปรียบเทียบโรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ
Golfer’s Elbow และ Tennis Elbow

ลักษณะข้อศอกนักกอล์ฟ
(Golfer’s Elbow)
ข้อศอกนักเทนนิส
(Tennis Elbow)
ตำแหน่งด้านในของข้อศอกด้านนอกของข้อศอก
กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกล้ามเนื้อ
Flexor carpi radialis
กล้ามเนื้อ 
Extensor carpi
radialis brevis
สาเหตุการบิดศอกเข้าด้านใน กระดกข้อมือลงการบิดศอกออก
กระดกข้อมือขึ้น
อาการปวดบริเวณด้านในของข้อศอก
ร้าวลงไปตามท่อนแขน
ปวดมากขึ้นเมื่อกำมือ
หรือบิดศอกเข้าด้านใน
ปวดบริเวณด้านนอก
ของข้อศอก
ร้าวลงไปตามท่อนแขน
ปวดมากขึ้นเมื่อ
กำมือหรือบิดศอกออก

โรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ ป้องกันได้!

  • วอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย
  • ยืดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานเอ็นกล้ามเนื้อซ้ำๆ เป็นเวลานาน
  • สวมรองเท้าที่พอดี
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง

การรักษาโรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ

  • พักการใช้งานแขนข้างที่ปวด : หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่น การเล่นกีฬาประเภทกีฬาแร็กเก็ต การทำงานที่ต้องใช้แรงบิด หรือ ใช้งานข้อมือบ่อยๆ
  • ประคบเย็น : บริเวณที่ปวดประมาณ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง ช่วยลดอาการปวด บวม และอักเสบ
  • พันผ้า : บริเวณที่ปวดด้วยผ้าพันแผลยืด ช่วยลดการเคลื่อนไหวของข้อศอก ลดอาการปวดและบวม
  • การรับประทานยา :
    – ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน ช่วยลดอาการปวด
    – ยาต้านการอักเสบ เช่น NSAIDs ช่วยลดอาการปวด บวม และอักเสบ
  • ฉีดยาสเตียรอยด์ : แพทย์อาจฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวดและอักเสบ ควรฉีดยาไม่เกิน 3 เข็ม
  • การผ่าตัด (กรณีอาการรุนแรง) : เป็นวิธีรักษาขั้นสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยที่ลองวิธีรักษาอื่นๆ แล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเอ็นที่สึกหรอ
  • กายภาพบำบัด :
    – นักกายภาพบำบัดจะสอนท่าบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อศอก
    – ใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด ช่วยลดอาการปวดและเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อศอก
เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ

การรักษาโรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ
ด้วยการกายภาพบำบัด ด้วยโปรแกรม PMS laser therapy

รักษาอาการเจ็บปวดบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นโรค Golfer’s Elbow และ Tennis Elbow เครื่อง PMS laser therapy จะเป็นการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นบริเวณที่ปวด ให้มีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่และฟื้นฟูเส้นประสาท ซึ่งตัวเครื่องสามารถลงลึกได้ถึง 10 cm อีกทั้งตัวเครื่องยังมีเลเซอร์ที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดอีกด้วย

การรักษาด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการเจ็บข้อศอกจาก โรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ชอบออกกำลังกายด้วยการตีแบดมินตัน เทนนิส และการตีกอล์ฟนะคะ เล่นกีฬาอย่างระมัดระวัง อย่าหักโหมเกินไป ด้วยความเป็นห่วงจาก The touch wellness

หากมีอาการเจ็บข้อศอก อย่าปล่อยไว้นาน!
ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา!