หมอจิตเวชเตือน อย่าทำร้ายกันด้วยพฤติกรรม คำพูด

อย่าทำร้ายกันด้วยคำพูด

Is Someone Gaslighting You?

ใครอยู่ใกล้คนแบบนี้ หนีให้ห่าง!!

อย่าทำร้ายกันด้วยคำพูด หนึ่งในความเจ็บปวดที่สุดของความเป็นมนุษย์ คือ การที่คนคนนึงสูญเสียตัวตน สับสนจนเสียศูนย์ และเกิดความคิดว่าตัวเองกระทำ หรือ พูดอะไรผิดพลาดไป ทั้งที่ในความเป็นจริงตัวเขาเองไม่เคยทำแบบนั้นที่โดนกล่าวหาเลยก็ได้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ถูกหลอกให้คิดไปเอง” 

สัญญาณของความสัมพันธ์ที่ไม่ดี ที่ขาดความเชื่อใจซึ่งกันและกัน เรามาดูกันว่า ตัวเราเองอยู่ในสถานะที่ถูก Gaslighting หรือว่า เราอาจจะเป็นคนที่ไป Gaslight คนรอบข้างอยู่หรือไม่

อย่าทำร้ายกันด้วยคำพูด

การที่มีคนคอยบงการคุณเพื่อเป้าหมายบางสิ่ง ได้กระทำการผูกขาดความเป็นเหตุเป็นผลไว้กับตัวเอง โดยสร้างสถานการณ์เท็จเพื่อลวงให้คุณหลงกล เกิดความสับสน หรือเข้าใจที่ผิดเพี้ยน จนต้องตั้งคำถามถึงความไม่ปกติของตัวเอง รวมถึงสุขภาพจิต ประสบการณ์ และความทรงจำต่าง ๆ ฯลฯ 

จริงอยู่ที่ว่าการ Gaslight มักเกิดขึ้นระหว่างคู่รัก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็น ที่ทำงาน กลุ่มเพื่อน หรือแม้แต่ครอบครัว ทุกความสัมพันธ์มนุษย์สามารถว่าเกิดขึ้นได้

คำนี้ถูกบัญญัติขึ้นมาจากภาพยนตร์เรื่อง “Gaslight” (1940) เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกสามีของเธอปั่นหัวสารพัดด้วยคำพูดและการกระทำต่าง ๆ ที่จะทำเหมือนให้เธอรู้สึกว่าาเป็นคนสติไม่ดี เพื่อที่สามีจะได้ยึดมรดก

สร้างสถานการณ์เท็จเพื่อลวงให้คุณหลงกล

งานวิจัยพบว่ามี Gaslighting เกิดขึ้นมากระหว่าง สามี-ภรรยา เมื่อฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีปัญหาที่เกิดจากการมีความเจ็บป่วยทางจิต เช่น มีอาการซึมเศร้า, มีอาการวิตกกังวลไบโพลาร์, ติดสุราเรื้อรัง ฯลฯ คำพูดที่มาจากฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ตั้งใจนั้น ร้ายแรงมากจนนำไปสู่อีกสารพัดปัญหาได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ใดใดแล้ว ทุกความสัมพันธ์ไม่ควรได้รับความเจ็บปวดจากคำพูดทั้งสิ้น

อย่าทำร้ายกันด้วยคำพูด

คำพูดที่ทำให้คนอื่น “รู้สึกด้อยค่า” อย่างตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจนั้น นับว่าเป็น Gaslighting บ่อยครั้งที่คำพูดหลุดออกจากปากเพราะความโกรธ หรือขาดสติทั้ง ๆ ที่ไม่ได้หมายความดังที่พูด สำหรับผู้รับสารแล้ว คำพูดเหล่านี้มีความหมายเป็นอย่างมาก

และจะมีผลเมื่อทั้งฝ่ายผู้พูดและผู้รับมีอำนาจในความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่เท่าเทียมกันโดย “ผู้รับ” ให้ความเคารพ “ผู้พูด” อยู่ และ “ผู้รับ” เกรงใจหรือกลัวที่จะสูญเสียบางอย่างหากท้าทายการกระทำหรือคำพูดของ “ผู้พูด” และอาจรุนแรงถึงขั้น ผู้รับไม่รู้ตัวว่ากำลังอยู่ใน Gaslighting และอาจปกป้องผู้พูดเลยด้วยซ้ำ

นาโอมิ ทอร์เรส-แม็กคี (Naomi Torres-Mackie) นักจิตวิทยาจากโรงพยาบาลเลนนอกซ์ ฮิลล์ (Lenox Hill Hospital) ในนครนิวยอร์ก และหัวหน้างานวิจัยที่ Mental Health Coalition

อย่าทำร้ายกันด้วยคำพูด

แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยาก ในการที่ออกจากความสัมพันธ์ Gaslighting ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน ๆ ก็ตาม แต่สุดท้ายแล้ว สุขภาวะทางร่างกายจิตใจของตัวเองนั้นมีความสำคัญมาก หากกำลังประสบปัญหาใดที่ไม่สามารถรับมือจัดการตามลำพัง ให้รีบขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

Source :

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง