อันตราย ฝุ่น PM 2.5

pmเสี่ยงเป็นโควิด19

ฝุ่น PM 2.5 อันตราย เสี่ยง มะเร็งปอด กระตุ้นการอักเสบ เพิ่มความเสี่ยงเป็น โควิด 19

  • ฝุ่น PM2.5 คืออะไร
  • ฝุ่น PM2.5 ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
  • กลไกการทำงานของฝุ่น PM 2.5 ต่อระบบทางเดินหายใจ
  • ป้องกันฝุ่นPM2.5 ด้วยวิธีเหล่านี้
  • ฝุ่น PM 2.5 สัมพันธ์กับโควิด-19 อย่างไร

ในยุคปัจจุบันที่รูปแบบการใช้ชีวิตของเรา ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ห้อมล้อมไปด้วย ฝุ่น และหากว่าร่างกายได้รับ ฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว อาจนำไปสู่สาเหตุการเกิด มะเร็งปอด ได้

PM 2.5 นับเป็นอีกภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ การรับสัมผัสมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรโลกถึง 7 ล้านคน* ฝุ่นละอองเหล่านี้สามารถล่องลอยอยู่ในอากาศเป็นได้นาน เมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ ปอด ถุงลม ลงลึกถึงเส้นเลือดฝอยในขั้วปอด ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก นอกจากนั้นหลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า ฝุ่น PM 2.5 เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ปอดของเราอ่อนแอซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด 19 เพิ่มขึ้น ในวันที่อากาศเลวร้ายแบบนี้การป้องกันจึงสำคัญ

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร ทำไมถึงอันตราย และส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นมลพิษที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งมีขนาดเล็กถึง 2.5 ไมครอน (ประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม ขนจมูกไม่สามารถกรองได้) และยังอันตรายแบบเข้าขั้นวิกฤต เนื่องจากฝุ่นนี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางพาสารอื่น ๆ ที่อันตรายต่อร่างกาย แทรกซึมเข้าไปลึกถึงทางเดินหายใจ ปอด และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย รวมทั้งผ่านทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูกเข้าไปยังสมองโดยตรง อนุภาคเล็ก แต่ปัญหาสุขภาพที่ตามมาไม่ได้เล็กตาม

pmเสี่ยงเป็นโควิด19

ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

ผลเสียของ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงถึงขั้นชีวิตได้เนื่องจากอนุภาคเหล่านี้สามารถซึมลึกเข้าไปในปอดและอาจเข้าสู่กระแสเลือดได้ PM 2.5 โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือกลุ่มคนที่มีโรคหัวใจหรือโรคปอดอยู่แล้ว รวมไปถึงฝุ่น PM 2.5 ยังเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้ปอดติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้นการป้องกันจึงสำคัญ ผลกระทบอื่นๆ ต่อร่างกายมีดังนี

ผลกระทบต่อสมอง

  • กระตุ้นไมเกรน ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงขึ้นมาได้
  • เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ
  • กระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของก้อนโปรตีน ที่ผิดปกติ และทำให้สมองฝ่อเหี่ยวมากกว่าคนปกติ
  • กระตุ้นให้เกิดโรคทางระบบประสาท

ผลต่อระบบทางเดินหายใจ

  • ระคายเคืองต่อคอ จมูก อาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบ
  • ไอ จาม มีเสมหะ
  • กระตุ้น โรคภูมิแพ้
  • โรคหอบหืด
  • โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน
  • โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • โรคถุงลมโป่งพอง
  • โรค มะเร็งปอด
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด

ผลต่อหัวใจ

  • ผลกระทบแบบเฉียบพลัน ส่งผลให้เส้นเลือดเปราะ เส้นเลือดแตก 
  • ในผู้ป่วยโรคหัวใจ กระตุ้นให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ กระตุ้นการอักเสบทั่วร่างกาย 
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดเกิดความเสียหาย
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • หัวใจวาย

ผลต่อผิวหนัง

  • ผิวหนังอักเสบ ระคายเคือง ผื่นแดง และมีอาการคัน
  • เป็นสิวเรื้อรัง ผิวอุดตัน
  • กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระ ที่ทำลายผิวและการอักเสบในร่างกาย

กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังเป็นพิเศษ

  • เด็กเล็ก
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว

กลไกการทำงานของ ฝุ่น PM 2.5 ต่อระบบทางเดินหายใจ

เมื่อสูดอากาศที่มี PM 2.5 เข้าไป จะทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดการกระตุ้นให้มีการอักเสบมากขึ้น (Inflammation) เยื่อบุผนังหลอดลมบวม เกิดการสร้างสารคัดหลั่งมากขึ้น ทำให้มีอาการไอ หอบ มีเสมหะ อีกทั้งการอักเสบในร่างกายยังทำให้เกิดภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) ทำให้เกิดการสร้างสารอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ในเซลล์ของปอด ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็น มะเร็งปอด ได้ในอนาคต เพราะ PM2.5 มีองค์ประกอบของสารเคมีบางชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น Polycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAHs) หรือ VOCs

pmเสี่ยงเป็นโควิด19

ป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 ด้วยวิธีเหล่านี้

PM 2.5 สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้หลายอย่าง การป้องกัน PM 2.5 เป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ โดยปฏิบัติดังนี้

หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง

  • ตรวจสอบค่า ฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่เสมอ
  • งดการออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • หากอยู่ในอาคาร ควรปิดประตู หน้าต่าง ให้สนิท
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศ ดักจับฝุ่น

ผลลัพธ์เหล่านี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของนิสัยการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด คือสะพานสู่การเกิดโรคต่างๆ มากมาย หากคุณคือคนที่กำลังอ่านบทความนี้ตอนเวลา 03.00 น. อยู่ตอนนี้ เราขอแนะนำ อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้คุณมีการนอนหลับ
ที่มีคุณภาพด้วย Better Sleep Formula ที่ The Touch Wellness And Beauty Center ศูนย์สุขภาพและความงาม ครบวงจร เป็นการเติมสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่ช่วยกระตุ้นสารเคมี และสารสื่อประสาทให้กลับมาทำงานอย่างสมดุล รวมถึงปรับการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และทำให้ไม่รู้สึกเพลียหลังตื่น

สวมหน้ากากอนามัย

  • เลือกหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้ เช่น หน้ากาก N95 
  • สวมหน้ากากให้แนบกับใบหน้า หมั่นกระชับหน้ากากไม่ให้หลวม
  • ไม่ควรนำหน้ากากใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่หากมี ฝุ่นละออง หนาเกินไป

ดูแลสุขภาพ

  • ทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายในร่ม

ปลูกต้นไม้

  • ต้นไม้ช่วยดูดซับ ฝุ่นละออง PM 2.5
  • เลือกปลูกต้นไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

ร่วมรณรงค์ลดมลพิษทางอากาศ

  • งดการเผาขยะ
  • ใช้รถสาธารณะ
  • ประหยัดพลังงาน
  • การป้องกัน PM 2.5 เป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ

การล้างมือบ่อย ๆ ช่วยลดการสัมผัสกับ ฝุ่น PM 2.5 การรับประทานอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ฝุ่น PM 2.5 สัมพันธ์กับ โควิด 19 อย่างไร

ในช่วง 2 ปีที่ผ่าน มานอกจากปัญหาทางมลพิษ “มรสุมฝุ่น PM 2.5” ยังมีโรคระบาดที่มาควบคู่กันส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกับฝุ่นร้าย คือ “ โควิด 19 ” โดยทั้งสองโรคต่างทำให้ปอดเกิดการอักเสบ ปอดทำงานหนักขึ้น จึงเกิดคำถามว่าทั้งสองโรคนี้มีความสัมพันธ์กันหรือไม่?

งานวิจัยทั่วโลกค้นพบความเชื่อมโยงระหว่าง  ฝุ่น PM 2.5 กับการติดเชื้อไวรัส โควิด 19 กล่าวโดยสรุปคือ ฝุ่น PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดได้มากขึ้นถึงร้อยละ 66 หากสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 ในสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร และอาจเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นหากอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดี พื้นที่มิดชิดไม่มีหน้าต่าง เพราะเชื้อโรคจะแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นาน

โดยผลกระทบของ PM 2.5 ที่มีต่อ โควิด 19 คือ  ฝุ่น PM 2.5 จะทำให้ปอดของมนุษย์อ่อนแอลง เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายปอดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากในปอดเราจะมีตัวรับเซลล์หรือ receptor ทั้งหมด 3 ตัว ประกอบไปด้วย เอนไซม์ ACE2 โปรตีน DC-SIGN และ L-SIGN(2) ทุกตัวจะมีหน้าที่รักษาระบบการทำงานในร่างกายให้เป็นปกติ เป็นเหมือนทหารในร่างกายคอยรักษาความปลอดภัย เมื่อร่างกายถูกโจมตีด้วย  ฝุ่น PM 2.5 จะทำให้ปอดเหลือเอนไซม์ในการปกป้องปอดเพียงตัวเดียวคือ เอนไซม์ ACE2 ดังนั้นเมื่อร่างกายมีรั้วป้องกันที่อ่อนแอลงจึงทำให้เชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เพราะภูมิต้านทานในระบบทางเดินหายใจ ระบบน้ำเหลืองและระบบเซลล์อ่อนแอลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อร่างกายมากขึ้นเพราะร่างกายอ่อนแอลง

ดังนั้น ฝุ่น PM 2.5 กับการติดเชื้อไวรัส โควิด 19 มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นนัยสำคัญ เราจึงต้องระวังการสูดหายใจรับอากาศที่มีฝุ่นมากเข้าไปอยู่เสมอ เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสจากการที่ปอดอ่อนแอได้สูง ควรมีการป้องกันด้วยการใส่หน้ากาก N-95 หมั่นล้างมืออยู่เสมอ และที่สำคัญ

The touch wellness เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพ จึงรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณและคนที่คุณรัก อย่าลืมใส่ใจสุขภาพกันนะคะ

Source :

*ข้อมูลจาก WHO_Air Pollution Slides_200921_CC Air Quality guidelines

https://thestandard.co/pm25-health-effects/
https://www.sdgmove.com/2024/02/15/pollution-pm2-5-bangkok-2023/
กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ : กรมอนามัย | คลังงานวิจัย (moph.go.th)
จริงหรือไม่? ฝุ่น PM 2.5 เป็นพาหะของไวรัส COVID-19 – IQAir Thailand (iqualityair.com)

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อ