จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณนอนน้อย
นอนน้อยเสี่ยงโรค งานวิจัยชี้ หากจำนวนชั่วโมงการนอนหลับที่น้อยลง ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากกว่าที่คุณคิด
ปัญหาสุขภาพคุณภาพการนอนหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพของคนไทยในยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดเลยว่า กำลังประสบปัญหานอนไม่หลับประมาณ 19 ล้านคน พบได้ทุกช่วงวัยมากถึงร้อยละ 30-40 ของประชากร คาดว่ากว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก รวมทั้งตัวคุณเอง อาจกำลังประสบปัญหานี้
เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากถึง 2.22 เท่า
เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน 2.18 เท่า
เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร 1.63 เท่า
เพราะว่า : การทำงานของ NK-Cells (Natural Killer Cells) หรือเซลล์เพชฌฆาต มีหน้าที่ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง จะลดลงมากถึง 72% หากนอนหลับน้อยกว่า 4 ชั่วโมง
อ้างอิง : วารสาร International Journal of Cancer พ.ศ. 2563
เสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 1.71 เท่า
เพราะว่า : อดนอนอย่างต่อเนื่องกระตุ้นการปล่อย นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น กลไกการปรับความดันโลหิตมีความผิดปกติ
อ้างอิง : วารสาร Sleep Medicine Clinics ปี พ.ศ. 2559
เสี่ยงเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น 1.55 ขึ้น
เพราะว่า : ชั่วโมงการนอนที่น้อยสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเลปตินที่ลดลง 18 % และฮอร์โมนเกรลินที่เพิ่มขึ้น 28% ทำให้ความหิวและความอยากอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ความอยากรับประทานอาหารว่างที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง
อ้างอิง : วารสาร The American Journal of Clinical Nutrition ในปี พ.ศ. 2554
เสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน 1.48 เท่า
ความดันโลหิตสูง 1.32 เท่า
โรคหัวใจ 1.37 เท่า
เพราะว่า : การนอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการหลั่งอินซูลินและ การตอบสนองของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล โกรทฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง และภาวะอักเสบเพิ่มขึ้น
อ้างอิง : วารสาร Sleep Medicine Reviews พ.ศ. 2559
เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 1.32 เท่า
เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) 1.39 เท่า
เพราะว่า : อดนอนอย่างต่อเนื่องกระตุ้นการปล่อย นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น กลไกการปรับความดันโลหิตมีความผิดปกติ
อ้างอิง : วารสาร Sleep Medicine Clinics ปี พ.ศ. 2559
การนอนน้อยชั่วโมงเกินไปอย่างสม่ำเสมออาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน เบาหวาน โรคซึมเศร้า และความบกพร่องทางสติปัญญา นอกจากนี้ การอดนอนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ยากขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องตั้งเป้าหมายการนอนหลับ 7-9 ชั่วโมงต่อคืนเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุด
Source :
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26972035/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32895918/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31955131/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25012962/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26687279/
นอนน้อยเสี่ยงโรค
นอนน้อยเสี่ยงโรค